สวัสดี

วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550

พ.ร.บ.ฉบับนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่18 มิถุนายน พ..2550

และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม พ..2550 เป็นต้นไป

ทำไมต้องมี พ... คอมพิวเตอร์ เพราะว่าคอมพิวเตอร์เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน มีทั้งด้านดีและด้านที่ไม่ดี มีการใช้คอมพิวเตอร์เผยแพร่ข้อมูลในทางที่เป็นเท็จหรืออนาจาร อาจส่งผลเสียต่อบุคคลอื่น จึงต้องมีมาตรการควบคุม

ความผิดที่เข้าข่ายความผิดตามพ.ร.บ. ฉบับนี

- การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ

- การเปิดเผยข้อมูลมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ

- การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ

- การดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น

- การทําให้เสียหาย ทําลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ

- การกระทําเพื่อให้การทํางานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นไม่สามารถทํางานได้ตามปกติ

- การส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์รบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของคนอื่นโดยปกติสุข

- การจําหน่ายชุดคําสั่งทีจัดทําขึ้นเพื่อนําไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทําความผิด

- การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทําความผิดอื่นผู้ให้บริการจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทําความผิด

- การตกแต่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ทีเป็นภาพของบุคคล



ผู้ให้บริการที่ระบุใน พ.ร.บ. นี้ คือบุคคลใด

ผู้ให้บริการตาม พ.ร.บ.นี้ สามารถจําแนก 4 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้

-ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมไม่ว่าโดยระบบโทรศัพท์ระบบดาวเทียม ระบบวงจรเช่าหรือบริการสื่อสารไร้สาย

-ผู้ให้บริการการเข้าถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไม่ว่าโดยอินเทอร์เน็ต ทังผ่านสายและไร้สายหรือในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทีจัดตั้งขึ้นในเฉพาะองค์กรหรือหน่วยงาน

-ผู้ให้บริการเช่าระบบคอมพิวเตอร์หรือให้เช่าบริการโปรแกรมประยุกต์ (Host Service

Provider)

- ผู้ให้บริการข้อมูลคอมพิวเตอร์ผ่าน application ต่างๆที่เรียกว่า content provider เช่นผู้ให้บริการ web board หรือ web service เป็นต้น



พระราชบัญญัตินี้ จะมีผลกระทบกับผู้ใช้คอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ตโดยทั่วไปเพราะหากท่านทําให้เกิดการกระทําความผิดทางคอมพิวเตอร์ (ไม่ว่าจะบังเอิญหรือตั้งใจ)ก็อาจจะมีผลกับท่าน และที่สําคัญ คือผู้ให้บริการ ซึ่งรวมไปถึงหน่วยงานต่างๆทีเปิดบริการอินเทอร์เน็ตให้แก่ผู้อื่นหรือกลุ่มพนักงาน นิสิต นักศึกษาในองค์กรผู้รับผิดชอบมีหน้าที่ดูแลอย่างรอบคอบในฐานะ "ผู้ให้บริการ"



ความผิดทางอาญาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

1. เจ้าของไม่ให้เข้าระบบคอมพิวเตอร์ของเขาแล้วเราแอบเข้าไป

จําคุก 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน10,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

2. ไปรู้วิธีการเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นแล้วไปยังไปบอกให้คนอื่นรู้ ต่อ

จําคุกไม่เกิน 1ปี หรือปรับไม่เกิน20, 000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

3. แอบไปเจาะข้อมูลของผู้อื่นทีเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์

จําคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน40,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

4. แอบไปดักจับข้อมูลผู้อื่นระหว่างการสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์

จําคุกไม่เกิน 3ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

5. ไปแก้ไขข้อมูลของในระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น

จําคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน100,000 บาทหรือทั้งจําทั้งปรับ

6. ส่ง packet หรือ message หรือ virus หรือ trojan หรือ wormหรืออะไรก็ตามเข้าไปก่อกวนจนระบบผู้อื่น

จําคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับไม่เกิน100, 000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

7. ส่งข้อมูลหรืออีเมล์ ให้ผู้อื่นซ้ำๆ โดยผู้รับไม่ได้ร้องขอ

ปรับไม่เกิน 100,000 บาท

8. ความผิดผิดข้อ 5. กับ ข้อ 6.ทําให้บุคคลทั่วไปเกิดความเสียหาย

จําคุกไม่เกิน 10ปีและปรับไม่เกิน 200, 000 บาท

หากก่อความเสียหายต่อความมันคงของประเทศ เศรษฐกิจและสังคม

จําคุกตั้งแต่ 3-5 ปี และปรับตั้งแต่60, 000 -- 300,000 บาท

และถ้าทําให้ใครตายก็จะเพิ่มโทษเป็น .. จําคุกตั้งแต่ 10ปีถึง 20ปี

9. ถ้าเป็นผู้ผลิตซอฟต์แวร์เพื่อทําให้ทําความผิดในหลายข้อข้างต้น

จําคุกไม่เกิน 1ปี หรือปรับไม่เกิน 20 ,000 บาทหรือทั้งจําทั้งปรับ

10. สร้างภาพโป๊ เรืองเท็จ ทําการปลอมแปลง กระทําการใดๆทีกระทบความมั่นคง ก่อการร้าย และส่งต่อข้อมูลทั้งๆที่รู้ว่าผิดตามที่กล่าวมาข้างต้น

จําคุกไม่เกิน5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100, 000บาทหรือทั้งจําทั้งปรับ

11. เจ้าของเว็บ สนับสนุน / ยินยอมให้เกิดข้อ 10.

จําคุกไม่เกิน 5ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาทหรือทั้งจําทั้งปรับ

12. เอารูปผู้อื่นมาตัดต่อแล้วเอาไปเผยแพร่ในระบบคอมพิวเตอร์

จำคุกไม่เกิน 3 ปีหรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ



ผู้ใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต

ในฐานะบุคคลธรรมดาไม่ควรกระทําในสิงต่อไปนี้เพราะอาจจะทําให้ เกิดการกระทําความผิด" ตาม พรบ.นี้

1. ไม่ควรบอก passwordแก่ผู้อื่น

2. อย่าให้ผู้อื่นยืมใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อเข้าเน็ต

3. อย่าติดตั้งระบบเครือข่ายไร้สายในบ้านหรือที่ทํางานโดยไม่ใช้มาตรการ

การตรวจสอบผู้ใช้งานและการเข้ารหัสลับ

4 อย่าเข้าสู่ระบบด้วย user ID และ password ที่ไม่ใช่ของท่านเอง

5. อย่านํา user ID และ password ของผู้อื่นไปใช้งานหรือเผยแพร่

6. อย่าส่งต่อซึ่งภาพหรือข้อความหรือภาพเคลื่อนไหวทีผิดกฎหมาย

7. อย่า กด "remember me"หรือ "remember password"ที่เครื่องคอมพิวเตอร์สาธารณะ

และอย่า log-in เพื่อทําธุรกรรมทางการเงินที่เครื่องสาธารณะ

8. อย่าใช้ WiFi (Wireless LAN) ที่เปิดให้ใช้ฟรีโดยปราศจากการเข้ารหัสลับข้อมูล

WEB OPAC

      
Web OPAC     ย่อมาจากWeb Online Public Access Catalog หมายถึง การสืบค้นสารสนเทศด้วยระบบออนไลน์ โดยการเชื่อมโยงและโอนย้ายสารสนเทศจากแหล่งที่ให้บริการ ซึ่งเรียกว่า เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) มายังเครื่องที่ใช้บริการ





สารสนเทศที่ได้รับประกอบไปด้วย

1)บรรณานุกรม
2)บรรณานุกรม+สารบัญ
3)บรรณานุกรม+บทคัดย่อ/บรรณนิทัศน์
4)บรรณานุกรม+ ฉบับเต็มรูป
5)ดัชนีวารสาร
6)รายการวารสาร+หนังสือพิมพ์
7)เว็บไซต์
8)บรรณานุกรม+ เมตาดาต้า+ ฉบับเต็มรูป

สามารถเข้าใช้โดยเข้าไปที่เว็บไซต์ของสำนักวิทยบริการURL: http://www.library.msu.ac.th

1. การสืบค้นจากชื่อผู้แต่ง ผู้แต่ง หมายรวมถึง ผู้แต่งร่วม บรรณาธิการ ผู้แปล ชื่อนิติบุคคล และชื่อรายงานการประชุมสัมมนาผู้แต่งที่เป็นชาวต่างประเทศ ให้พิมพ์ชื่อสกุล ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) ชื่อต้น ชื่อกลาง



2. การสืบค้นจากชื่อเรื่องพิมพ์ชื่อเรื่องที่ต้องการสืบค้น ซึ่งผู้ใช้ต้องทราบชื่อเรื่องของทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆ


3. การสืบค้นจากหัวเรื่อง หัวเรื่อง หมายถึง คำหรือวลีที่กำหนดขึ้นเพื่อบ่งบอกถึงเนื้อหาสาระสำคัญของเอกสาร หรือหนังสือ ตลอดจนทรัพยากรสารสนเทศอื่นๆทุกชนิด




4. การสืบค้นจากคำสำคัญ คำสำคัญ คือ คำ หรือวลี ที่ปรากฏอยู่ในส่วนใดส่วนหนึ่งของชื่อเรื่อง/ชื่อชุด/สารบัญ/บทคัดย่อ ฯลฯ

5. การสืบค้นจากเลขเรียก เลขเรียกหนังสือ หมายถึง สัญลักษณ์ที่กำหนดให้ทรัพยากรสารสนเทศเพื่อบอกตำแหน่ง ที่อยู่ของวัสดุนั้นๆ ในห้องสมุด โดยใช้ระบบทศนิยมดิวอี้ แบ่งความรู้เป็น 10 หมวดใหญ่ ภายใต้หมวดใหญ่แบ่งเป็น 10 หมวดย่อย ภายใต้หมวดย่อยแบ่งเป็น 10 หมู่ย่อย ภายหลังหมวดย่อยใช้ทศนิยมแบ่งหมวดหมู่ได้ไม่รู้จบ ใช้ตัวเลขอารบิคสามหลักเป็นสัญลักษณ์แทนเนื้อหาวิชา








6. การสืบค้นจากชื่อผู้แต่ง/ชื่อเรื่องพิมพ์ชื่อผู้แต่ง และชื่อเรื่องของทรัพยากรสารสนเทศซึ่งผู้ใช้ต้องทราบชื่อผู้แต่ง หรือหากทราบชื่อเรื่องของทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆ จะทำให้สามารถจำกัดผลการสืบค้นได้











Search Engine คือ เครื่องมือการค้นหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต ที่ทุกคนสามารถเข้าไปค้นหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตก็ได้ โดย กรอก ข้อมูลที่ต้องการค้นหา หรือ Keyword (คีเวิร์ด) เข้าไปที่ช่อง Search Box แล้วกด Enter แค่นี้ข้อมูลที่เราค้นหาก็จะถูกแสดงออกมาอย่างมากมายก่ายกอง เพื่อให้เราเลือกข้อมูลที่เราโดนใจที่สุดเอามาใช้ งาน โดยลักษณะการแสดงผลของ Search Engine นั้นจะทำการแสดงผลแบบ เรียงอันดับ Search Results ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์
Search Engine มี ประเภท

ประเภทที่ 1 Crawler Based Search Engines

Crawler Based Search Engines คือ เครื่องมือการค้นหาบนอินเตอร์เน็ตแบบอาศัยการบันทึกข้อมูล และ จัดเก็บข้อมูลเป็นหลัก ซึ่งจะเป็นจำพวก Search Engine ที่ได้รับความนิยมสูงสุด เนื่องจากให้ผลการค้นหาแม่นยำที่สุด และการประมวลผลการค้นหาสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว จึงทำให้มีบทบาทในการค้นหาข้อมูลมากที่สุดในปัจจุบัน

โดยมีองประกอบหลักเพียง ส่วนด้วยกันคือ
1. ฐานข้อมูล โดยส่วนใหญ่แล้ว Crawler Based Search Engine เหล่านี้จะมีฐานข้อมูลเป็นของตัวเอง ที่มีระบบการประมวลผล และ การจัดอันดับที่เฉพาะ เป็นเอกลักษณ์ของตนเองอย่างมาก
2. ซอฟแวร์ คือเครื่องมือหลักสำคัญที่สุดอีกส่วนหนึ่งสำหรับ Serch Engine ประเภทนี้ เนื่องจากต้องอาศัยโปรแกรมเล็ก ๆ (ชนิดที่เรียกว่า จิ๋วแต่แจ๋ว) ทำหน้าที่ในการตรวจหา และ ทำการจัดเก็บข้อมูล หน้าเพจ หรือ เว็บไซต์ต่าง ๆ ในรูปแบบของการทำสำเนาข้อมูล เหมือนกับต้นฉบับทุกอย่าง ซึ่งเราจะรู้จักกันในนาม Spider หรือ Web Crawler หรือ Search Engine Robots
ตัวอย่างหนึ่งของ Crawler Based Search Engine ชื่อดัง http://www.google.com




Crawler Based Search Engine ได้แก่อะไรบ้าง


จะยกตัวอย่างคร่าว ๆ ให้ได้เห็นกันเอาแบบที่เรา ๆ ท่าน ๆ รู้จักหนะครับก็ได้แก่Google , YahooMSNLiveSearchTechnorati (สำหรับ blog)?ครับ ส่วนลักษณะการทำงาน และ การเก็บข้อมูงของ Web Crawler หรือ Robot หรือ Spider นั้นแต่ละแห่งจะมีวิธีการเก็บข้อมูล และ การจัดอันดับข้อมูลที่ต่างกันนะครับ เช่น คุณทำการค้นหาคำว่า Search Engine คืออะไร” ผ่านทั้ง แห่งที่ผมให้ไว้จะได้ผลการค้นหาที่ต่างกันครับ


ประเภทที่ 2 Web Directory หรือ Blog Directory


Web Directory หรือ Blog Directory คือ สารบัญเว็บไซต์ที่ให้คุณสามารถค้นหาข่าวสารข้อมูล ด้วยหมวดหมู่ข่าวสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน ในปริมาณมาก ๆ คล้าย ๆ กับสมุดหน้าเหลืองครับ ซึ่งจะมีการสร้าง ดรรชนี มีการระบุหมวดหมู่ อย่างชัดเจน ซึ่งจะช่วยให้การค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ตามหมวดหมู่นั้น ๆ ได้รับการเปรียบเทียบอ้างอิง เพื่อหาข้อเท็จจริงได้ ในขณะที่เราค้นหาข้อมูล เพราะว่าจะมีเว็บไซต์มากมาย หรือ Blog มากมายที่มีเนื้อหาคล้าย ๆ กันในหมวดหมู่เดียวกัน ให้เราเลือกที่จะหาข้อมูลได้ อย่างตรงประเด็นที่สุด (ลดระยะเวลาได้มากในการค้นหา) ซึ่งผมจะขอยกตัวอย่างดังนี้
ODP Web Directory ชื่อดังของโลก ที่มี Search Engine มากมายใช้เป็นฐานข้อมูล Directory 1.? ODP หรือ Dmoz ที่หลาย?ๆ คนรู้จัก ซึ่งเป็น Web Directory ที่ใหญ่ที่สุดในโลก Search Engine หลาย ๆ แห่งก็ใช้ข้อมูลจากที่แห่งนี้เกือบทั้งสิ้น เช่น GoogleAOLYahooNetscape และอื่น ๆ อีกมากมาย ODP มีการบันทึกข้อมูลประมาณ80 ภาษาทั่วโลก รวมถึงภาษาไทยเราด้วยครับ (URL : http://www.dmoz.org )


2. สารบัญเว็บไทย SANOOK ก็เป็น Web Directory ที่มีชื่อเสียงอีกเช่นกัน และเป็นที่รู้จักมากที่สุดในเมืองไทย (URL : http://webindex.sanook.com )


3. Blog Directory อย่าง BlogFlux Directory ที่มีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับบล็อกมากมายตามหมวดหมู่ต่าง ๆ หรือ Blog Directory อื่น ๆ ที่สามารถหาได้จาก Make Many แห่งนี้ครับ


ประเภทที่ Meta Search Engine


Meta Search Engine คือ Search Engine ที่ใช้หลักการในการค้นหาโดยอาศัย Meta Tag ในภาษา HTML ซึ่งมีการประกาศชุดคำสั่งต่าง ๆ เป็นรูปแบบของ Tex Editor ด้วยภาษา HTML นั่นเองเช่น ชื่อผู้พัฒนา คำค้นหา เจ้าของเว็บ หรือ บล็อก คำอธิบายเว็บหรือบล็อกอย่างย่อ


ผลการค้นหาของ Meta Search Engine นี้มักไม่แม่นยำอย่างที่คิด เนื่องจากบางครั้งผู้ให้บริการหรือ ผู้ออกแบบเว็บสามารถใส่อะไรเข้าไปก็ได้มากมายเพื่อให้เกิดการค้นหาและพบเว็บ หรือ บล็อกของตนเอง และ อีกประการหนึ่งก็คือ มีการอาศัย Search Engine Index Server หลาย?ๆ แห่งมาประมวลผลรวมกัน จึงทำให้ผลการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ไม่เที่ยงตรงเท่าที่ควร.







  • ช่องค้นหา เป็นช่องป้อนข้อความที่เป็นเงื่อนไข สำหรับกำหนดคำ/ข้อความที่เป็นเงื่อนไขในการค้นหา
  • คำแนะนำพร้อมตัวอย่างการใช้งาน เป็นข้อความที่อยู่ภายใต้ช่องค้นหา เพื่อแนะนำการใช้งาน Search Engine อย่างง่าย พร้อมตัวอย่างการใช้งาน
  • ปุ่ม "Go" ปุ่มสำหรับสั่งให้ทำการค้นหา


การค้นหาด้วย Super Search

            Super Search เป็นเครื่องมือค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตอีกประเภทหนึ่ง เหมาะสำหรับผู้ที่คุ้นเคยกับ Basic Search อยู่แล้ว แต่ต้องการค้นหาข้อมูลให้ได้ผลลัพธ์ตรงความต้องการมากขึ้นกว่าที่จะสามารถทำได้ใน Basic Search ด้วยวิธีการสร้างเงื่อนไขการค้นหาขึ้น ซึ่งจะได้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจกว่าใน Basic Search ในขณะเดียวกันการค้นหาแบบ Super Search ก็จะมีความซับซ้อนในการใช้งานด้วยเช่นกัน

  • ข้อความแบบมีเงื่อนไข เป็นช่องสำหรับกำหนดข้อความที่เป็นเงื่อนไขในการค้นหา
  • เสียงคล้าย เป็นช่องระบุว่าต้องการคำที่ออกเสียงคล้ายคลึงกันได้
  • คำแนะนำพร้อมตัวอย่างการใช้งาน เป็นข้อความที่อยู่ภายใต้ช่องค้นหา เพื่อแนะนำการใช้งาน Search Engine อย่างง่าย พร้อมตัวอย่างการใช้งาน
  • ปุ่ม "Go" ปุ่มสำหรับสั่งให้ทำการค้นหา

  • เงื่อนไขที่ใช้ใน Super Search
          การค้นหาโดยใช้เงื่อนไข "AND"
          รูปแบบการใช้งาน : A and B โดย A , B เป็น คำหลัก (Keywords)
          อธิบาย : เราใช้เงื่อนไข "and" ก็ต่อเมื่อ ต้องการให้ปรากฏคำหลัก และ ในหน้าเว็บเพจเดียวกัน

          หมายถึง   การค้นหาคำหลักที่มีทั้ง และ B
          Example 1: พิมพ์ ไทย and จีน ลงในช่องข้อความแบบมีเงื่อนไข จะหมายถึง ค้นหาคำว่า ไทย และ จีน     

          โดยผลลัพธ์จากการค้นหา จะปรากฏคำว่า "ไทย" และ "จีน" อยู่ในหน้าเว็บเพจเดียวกัน

  • การค้นหาโดยใช้เงื่อนไข "OR"
    รูปแบบการใช้งาน : A or B
    อธิบาย : เราใช้เงื่อนไข "or" ก็ต่อเมื่อ ต้องการค้นหาคำหลัก หรือ โดยผลลัพธ์จากการค้นหาจะต้องปรากฏคำหลัก หรือ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ ทั้งสองคำ
    Example 2: พิมพ์ กีฬา or ดนตรี ลงในช่องข้อความแบบมีเงื่อนไข Super Search จะค้นหาข้อมูลที่ปรากฏคำว่า "กีฬา" หรือ "ดนตรี" ในหน้าเว็บเพจ

  • การค้นหาโดยใช้เงื่อนไข "NOT"
    รูปแบบการใช้งาน : A not B
    อธิบาย : เราใช้เงื่อนไข "not" ก็ต่อเมื่อ ต้องการค้นหา แต่ไม่ต้องการให้ปรากฏ อยู่ในหน้าเว็บเพจ
    Example 3: พิมพ์ กีฬา not ฟุตบอล จะหมายถึง การค้นหาเว็บเพจที่ปรากฏคำว่า "กีฬา" แต่ต้องไม่ปรากฏคำว่า "ฟุตบอล"
  • การค้นหาโดยใช้เงื่อนไข "NEAR"
    รูปแบบการใช้งาน : A near B
    อธิบาย : หมายถึง เป็นการระบุให้ผลลัพธ์ของการค้นหาต้องปรากฏทั้ง และ B และทั้งสองคำนี้จะต้องปรากฏอยู่ใกล้ๆกัน รูปแบบการค้นหาแบบนี้จะคล้ายกับการใช้เงื่อนไข "AND" แต่ต่างกันเพียง คำทั้งสองจะต้องปรากฏอยู่ห่างกันไม่เกิน 10 คำ ซึ่งเราจะเห็นว่าการใช้เงื่อนไข NEAR จะมีประสิทธิภาพที่ดีกว่าการใช้เงื่อนไข "AND" ในกรณีที่คำทั้งสองมีความเกี่ยวข้องกัน โดยคาดหวังว่าคำทั้งสองน่าจะปรากฏอยู่ใกล้เคียงกัน ยกตัวอย่างเช่น
            เราค้นหา วัด near อยุธยา ผลลัพธ์ที่ออกมาน่าจะได้หน้าเว็บเพจที่คำว่า "วัด" และ "อยุธยา" ที่ทั้งสองคำนี้น่าจะมีความเกี่ยวข้องกัน มากกว่า วัด and อยุธยา ที่ปรากฏคำทั้งสองคำนี้ในหน้าเว็บเพจแต่อาจจะไม่เกี่ยวข้องกันเลยก็ได้
    Example 4: พิมพ์ วัด near อยุธยา หมายถึง การค้นหาเว็บเพจที่มีทั้งคำว่า วัด และ อยุธยา อยู่ในหน้า เว็บเพจเดียวกัน และคำทั้งสองน่าจะปรากฏอยู่ใกล้เคียงกัน

  • การค้นหาโดยใช้เครื่องหมายวงเล็บ "(   )"
    รูปแบบการใช้งาน : (A * B) โดย และ เป็นคำที่ต้องการค้นหา และ สัญญลักษณ์ * แทนเงื่อนไข and , or ,not และ near
    อธิบาย : การใช้เครื่องหมายวงเล็บคร่อมข้อความที่เป็นเงื่อนไข หมายถึง การเจาะจงให้ประมวลผลข้อความที่อยู่ภายในวงเล็บก่อน
    Example 5: พิมพ์ (การเมือง or เศรษฐกิจ) near รัฐสภา หมายถึง การสั่งให้ค้นหาหน้าเอกสารเว็บเพจที่ปรากฏคำว่า "การเมือง" หรือ "เศรษฐกิจ" และ จะต้องปรากฏอยู่ใกล้เคียงกับคำว่า "รัฐสภา" ด้วย

1. สังเกต status ของหนังสือว่าอยู่บนชั้น หรือ ถูกยืมออกไป ถ้าพบว่าอยู่บนชั้น
2. ให้ผู้ใช้จดLocation ของหนังสือว่าอยู่ชั้นไหนของสำนักวิทยบริการ
3. จากนั้นจดเลขเรียก เพื่อไปค้นหาหนังสือบนชั้นหนังสือ ต่อไป

สถานะของวารสาร
       BOUND หมายถึง วารสารนั้นเย็บเล่มแล้ว สามารถหยิบได้ด้วยตนเองที่ชั้นวารสารเย็บเล่ม ชั้น 3
       ARRIVED หมายถึง วารสารฉบับนั้นมาแล้ว ติดต่อบรรณารักษ์ที่เคาน์เตอร์วารสาร ชั้น 3
       Late หมายถึง วารสารฉบับนั้นยังไม่มา
       To Bind หมายถึง กำลังอยู่ระหว่างดำเนินการเย็บเล่ม